วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2564

แนวคิด 3 Mu (Muda / Mura / Muri) คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรต่อองค์กร? | What is the 3 Mu concept (Muda / Mura / Muri)? How useful to the organization?

แนวคิด 3 Mu (Muda / Mura / Muri) คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไรต่อองค์กร?

What is the 3 Mu concept (Muda / Mura / Muri)? How useful to the organization? 








3 Mu หรือ Muda / Mura / Muri คือ แนวคิดพื้นฐานในการบริหารจัดการ ที่ทำการพัฒนามาจาก ระบบ Toyota Production System หรือ TPS ซึ่งต่อมาถูกพัฒนามาเป็น ระบบ Lean ในภายหลัง นั้นเอง


 





3 Mu หรือ Muda / Mura / Muri มาจากภาษาญี่ปุ่นที่ว่า

Muda 無駄คือ ความสูญเปล่า หรือ Waste

Mura คือ ความไม่สม่ำเสมอ หรือ Unevenness

Muri 無理คือ การฝืนทำงานที่เกินกำลังของตัวเอง หรือ Overburden







ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เพราะฉะนั้น ถ้าหากเราสามารถกำจัด 3 Mu ออกจากองค์กรของเราได้นั้น เราก็จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ดียิ่งขึ้น และยังสามารถลดต้นทุนในการผลิตลงไปได้อีกด้วยนะครับผม






Muda 無駄คือ ความสูญเปล่า หรือ Waste

คือ ความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ที่ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงมากขึ้น และทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ซึ่งมีหลากหลายลักษณะ ยกตัวอย่าง เช่น การรอ การเคลื่อนย้าย ของเสีย การผลิตมากเกินความจำเป็น หรือ การพูดคุยและเจรจากัน เป็นต้น 






ซึ่งสามารถแบ่งแยกประเภทของ Muda ออกมาได้เป็น 8 หัวข้อหลักๆ โดยที่ 7 หัวข้อนั้น ถูกกำหนดมาจาก Toyota Production System หรือ TPS และต่อมาได้มีการเพิ่มมาอีก 1 หัวข้อ นั้นก็คือ การใช้ศักยภาพของคนไม่คุ้มค่าหรือ Non-tilized Talent” 





1. ความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นจากการผลิตของเสีย หรือ Defect คือ การผลิตสินค้าที่ไม่ได้ตามมาตรฐานความต้องการของลูกค้า

2. ความสูญเปล่าที่เกิดจากการผลิตเกินกว่าความจำเป็น Overproduction คือ การผลิตสินค้าที่เกินจากมาตรฐานความต้องการของลูกค้า






3. ความสูญเปล่าที่เกิดจากการรอคอย หรือ Waiting คือ การหยุด รอคอย กระบวนการก่อนหน้า ซึ่งอาจจะทำให้เกิดต้นทุนเพิ่มขึ้นได้

4. ความสูญเปล่าที่เกิดจากการนำศักยาภาพของบุคลากรมาใช้ไม่คุ้มค่า หรือ Non-Utilized Talent คือ การที่องค์กรไม่ยอมพัฒนาบุคลากร และไม่ฟังความคิดเห็นของทีมงาน






5. ความสูญเปล่าที่เกิดจากการเคลื่อนย้าย หรือTransportation คือ การสูญเสียเวลาในการขนย้ายสินค้าบ่อยๆ โดยที่ไม่จำเป็น

6. ความสูญเปล่าที่เกิดจากการผลิตสินค้าคงคลังมากเกินไป หรือ Inventory คือ การที่ทำ stock หรือ ผลิตสินค้ามากเกินความจำเป็น ที่วางแผนไว้








7. ความสูญเปล่าที่เกิดจากการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น หรือ Motion คือ การทำงานของ คน หรือ เครื่องจักร มีการเคลื่อนไหว ที่เกินความจำเป็น

8. ความสูญเปล่าที่เกิดจากวิธีการผลิตไม่ถูกต้อง หรือ Excess Processing คือ ขั้นตอนในการผลิตที่ซับซ้อน หรือขั้นตอนซ้ำๆ ทำให้ขั้นตอนการทำงานไม่มีประสิทธิภาพ และสูญเสียเวลา และต้นทุนในการผลิต


 






เพื่อทำให้จำได้ง่ายมากขึ้น สำหรับ ความสูญเปล่า 8 ประการหรือ “8 Waste” จึงได้นำคำ ภาษาอังกฤษมาต่อกันเป็น “DOWNTIME” ที่ย่อมาจากคำว่า



 

 













Mura คือ ความไม่สม่ำเสมอ หรือ Unevenness

คือ ความไม่สม่ำเสมอในการทำงาน หรือการดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็น วิธีการทำงาน ปริมาณในการผลิต เวลาในการผลิต กระบวนการผลิต และอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลทำให้คุณภาพของสินค้าที่ได้ออกมานั้น ไม่ได้ตามาตรฐานที่ต้องการ หากทุกคนในองค์กร สามารถรักษามาตรฐานในการทำงาน ให้มีความสม่ำเสมอ หรือให้อยู่ในขอบเขตมาตรฐานที่กำหนดเอาไว้ได้ การทำงานก็จะมีประสิทธิภาพ และสินค้าทุกๆ ชิ้นที่ผลิตออกมานั้น ก็จะได้คุณภาพ ตามาตรฐานที่กำหนดไว้ นั้นเอง ครับผม

ความไม่สม่ำเสมอ หรือ Unevenness ที่พบได้ในองค์กร ก็จะมีมากมายหลายหัวข้อ แต่ที่สามารถพบได้บ่อยๆ นั้นก็คือ 





พนักงานทำงานได้ไม่มีความสม่ำเสมอ คือ พนักงานทุกๆ คน ก็ย่อมมีความเหมื่อยล้า มีความขยันทำงานที่แตกต่างกัน มีแนวความคิดที่แตกต่างกัน และมีอีกหลายอย่างที่แตกต่างกัน จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ พนักงาน นั้นทำงานได้ไม่มีความสม่ำเสมอ 









ขั้นตอนในการทำงานที่ไม่มีความสม่ำเสมอ คือ ขั้นตอนการทำงาน หรือวิธีการทำงาน หากองกรค์ไม่สามารถ รักษามาตรฐานในการทำงานได้ ก็จะทำให้ขั้นตอนการทำงานไม่มีความสม่ำเสมอ ซึ่งจะส่งผลให้สินค้าที่ผลิตออกมานั้น มีคุณภาพที่ไม่สม่ำเสมอกันได้ เช่นเดียวกัน







ปริมาณในการผลิตงานไม่มีความสม่ำเสมอ คือ การผลิตสินค้าออกมาได้อย่างไม่สม่ำเสมอนั้น อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เครื่องจักรมีปัญหา วัตถุดิบไม่มี หรือ ทำ Stock มากเกินไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้เอง อาจจะทำให้เกิดต้นทุน เพิ่มขึ้นสำหรับการผลิตได้ 







หากจะเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆ สำหรับ Mura หรือ ความไม่สม่ำเสมอ หรือ Unevenness นั้นก็คือ การควบคุมทุกกระบวนการผลิตสินค้าให้ได้ตามมาตรฐาน ที่กำหนดไว้ เพื่อให้สินค้าทุกๆ ชิ้น มีคุณภาพได้ตามมาตรฐานที่ต้องการ ทุกๆ ชิ้น นั้นเอง 





หรือ หากเปรียบเทียบกับการทำร้านอาหาร เราจะต้องทำยังไง ให้ทั้ง รสชาติ ปริมาณ เวลา และอื่นๆ ในการทำอาหาร ให้มีความสม่ำเสมอ ให้คงที่ เหมือนกันทุกๆ วัน นั้นเอง ครับผม







Muri 無理คือ การฝืนทำงานที่เกินกำลังของตัวเอง หรือ Overburden

คือ การทำงานที่เกิดกำลังความสามารถ หรือการฝืนทำ การฝืนการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้ หรืออาจจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง หรืออาจจะเกิดความเสียหายในระยะยาวที่รุนแรงได้ เช่น เครื่องจักรเสียหาย หรือเกิดอุบัติเหตุในการทำงาน ทำให้ต้องหยุดงาน เป็นต้น 






ในการทำงานที่เกินความสามารถ หรือการฝืนทำงาน ฝืนทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็มีน้อย และทำให้พนักงานเสียกำลังใจได้ หรือเครื่องจักรอาจจะเสียหายหนักตามมาได้ 







เพราะฉะนั้นแล้ว ในการลงมือทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ควรมีการประเมินที่รอบคอบ ต้องมีการปรึกษาหารือกัน ภายในทีมให้ชัดเจน ให้เข้าใจกันทุกๆ คน เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่จะตามมานั้นเอง ครับผม

Mr. Adisak Banpot / WAND Intelligence / 2021.08.23






************************************************






************************************************





************************************************


เพื่อนๆ สามารถ ติดตามผลงานของผมเพิ่มเติม ได้ตามช่องทางต่างๆ ด้านล่างนี้ได้เลยนะครับผม ขอบคุณมากครับ

You can follow to my works with other channels in below link, thank you very much.

YouTube: Die Casting & Engineering Knowledge Sharing

Blogger: Wand-Intelligence

Facebook: WAND Intelligence

Facebook Group: WAND Intelligence

Fan Page: Engineering Knowledge Learning Center by WAND Intelligence

Fan Page: Adisak Banpot

Fan Page: Aluminum High Pressure Die Casting and Engineering Knowledge Sharing

Blockdit: WAND Intelligence

************************************************

นอกจากนี้ผมยังมีเขียนบทความ ไว้ในเว็บอื่นๆ อีกด้วย หากเพื่อนๆ สนใจที่จะเข้าไปอ่าน ก็สามารถเข้าไปติดตามผลงานของผมได้ ตามลิ้งนี้ได้เลยนะครับผม ขอบคุณมากๆ ครับผม

Furthermore, you can follow to my article with other website in link below, thank you very much.

Website Article.in.th: WAND Intelligence (https://article.in.th/author/WANDIntelligence) 

Website TrueID In-trend: WAND Intelligence (https://creators.trueid.net/@WANDIntelligence) 

************************************************











หากสนใจต้องการหารายได้พิเศษจากการเขียนบทความสามารถ สมัครผ่านลิ้งนี้ได้เลยครับผม: https://article.in.th/ref/WANDIntelligence 

************************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น