วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2564

เทคนิค 3x5 Why Analysis หรือ 3 Legged 5 Why Analysis คืออะไร? มีหลักการขั้นตอนการใช้งานอย่างไรบ้าง?

สวัสดีครับ เพื่อนๆ ทุกๆ คน ช่วงนี้ สถานการณ์ของโรคระบาดก็ยังไม่ได้ดีขึ้นสักเท่าไหร่เลยนะครับ ไหนจะเรื่องปากเรื่องท้องอีกนะครับ ยังไงผมก็ขอเป็นกำลังใจให้ ทุกๆ คน ผ่านพ้นทุกๆ เรื่องไปได้ด้วยดี กันนะครับ

แต่ถึงจะมีปัญหาเรื่องโรคระบาด แต่การทำงาน หรือ เศรษฐกิจ ก็ต้องดำเนินกันต่อไป หลายๆ องค์กร ก็ยังต้องทำงานกันวุ่นวายเหมือนเดิม หลายๆ องค์กร ก็ยังคงมียอดสั่งซื้อ หรือ ยอดขายที่สูงอยู่ หลายๆ องค์กร ก็ยังมีปัญหาในการทำงานอยู่เหมือนเดิม

ในครั้งนี้ ผมก็จะขอมาอธิบายถึงหนึ่งในเครื่องมือ ที่ใช้ในการค้นหาสาเหตุต้นตอของปัญหา เพื่อทำการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนะครับผม นั้นก็คือ “3x5 Why Analysis หรือ 3 Legged 5 Why Analysis”

**********************************************************

จริงๆ แล้ว “3x5 Why Analysis” นั้นก็คือ 5 Why Analysis” หรือ การวิเคราะห์ค้นหาสาเหตุของปัญหาด้วยวิธีการ ทำไม ทำไม? นั้นเองครับผม แตกต่างกันเพียงคือ เราจะวิเคราะห์ หารสาเหตุโดยแบ่งแยกออกเป็น 3 หัวข้อ หลักๆ ครับผม

ก่อนอื่นเรามาดูประวัติที่มาที่ไปของ 5 Why Analysis” กันก่อนนะครับผม

5 Why Analysis” นั้น เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญสำหรับ วิศวกร หรือ ทุกๆ คนที่มีปัญหา แล้วต้องการค้นหาสาเหตุ เพื่อแก้ไข ปัญหา ซึ่งมีประสิทธิภาพในการค้นหาสาเหตุเพื่อแก้ไขปัญหาได้ดีมาก เครื่องมือหนึ่งเลยทีเดียว

5 Why Analysis” เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น โดย Mr. Sakichi Toyoda ได้นำเทคนิคนี้ เข้าไปใช้ในการแก้ไขปัญหาใน บริษัท Toyota ในช่วงพัฒนากระบวนการผลิต ณ ตอนนั้น ประมาณ ปี ค.ศ. 1970 และถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากๆ ของระบบ TPS หรือ Toyota Production System

หลังจากนั้น Mr. Taiichi Ohno ได้ทำการอธิบายหลักการของ 5 Why Analysis” ไว้ใน TPS ไว้อย่างชัดเจน คือ การถามคำว่า ทำไม ทำไม ซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ 5 ครั้ง

ปัจจุบัน วิธีการ 5 Why Analysis” ได้มีการนำมาใช้กันแพร่หลายกันมาก ทั้งใน Kaizen, Lean Manufacturing หรือ Six Sigma เป็นต้น



จากการงานวิจัยของผู้เชี่ยวชาญ ได้บอกไว้ว่า การถาม คำถามว่า ทำไม ทำไม 5 ครั้ง ต่อเนื่องกัน เราจะสามารถเข้าใจถึงต้นตอสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง และสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น แบบระยะยาว หรือ แบบถาวรได้

**********************************************************

3x5 Why Analysis” หรือที่เรียกว่า 3 Legged 5 Why Analysis” นั้นก็คือ การทำ 5 Why Analysis” ภายใต้ คำถามย่อยเจาะลึกลงไป 3 หัวข้อ คือ

Specifics คือ เป็นการถามคำถามว่า ทำไม ทำไม 5 ครั้งต่อเนื่อง เพื่อหาต้นตอของสาเหตุ ว่าปัญหาเกิดขึ้นได้อย่างไร จะแก้ไขยังไง ไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีก

Detection คือ เป็นการถามคำถามว่า ทำไม ทำไม 5 ครั้งต่อเนื่อง เพื่อหาต้นตอของสาเหตุ ว่าปัญหาที่เกิดขึ้น จะทำยังไงไม่ให้หลุดรอด ไปยัง กระบวนการถัดไป หรือ ลูกค้า

Systemic คือ เป็นการถามคำถามว่า ทำไม ทำไม 5 ครั้งต่อเนื่อง เพื่อหาต้นตอของสาเหตุ ว่าปัญหาที่เกิดขึ้น ในมาตรฐาน หรือ ระบบที่มีอยู่ ได้มีมาตรการป้องกัน ไม่ให้เกิดขึ้นอีก แบบถาวรหรือไม่

โดยทั่วไปแล้ว เทคนิคการถาม ทำไม ซ้ำๆ 5 ครั้งนั้น ต้องใช้ร่วมกัน กับ “แผนภูมิก้างปลา” หรือ แผนภูมิเหตุและผล เพื่อที่ให้วิธีแก้ไขปัญหา นั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น

**********************************************************

หากจะถามว่า เมื่อไหร่เราถึงต้องทำ 5 Why Analysis” คำตอบก็คือ เราจะทำ 5 Why Analysis” ก็ต่อเมื่อ เราต้องการค้นหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น หรือเกิดการร้องเรียนมาจากลูกค้า แล้วเราต้องการ รายละเอียดของปัญหา วิธีการแก้ไขปัญหา หรือ เพื่อไปตอบ 8D Report” ของลูกค้า เป็นต้น


ข้อดี ของการทำ 5 Why Analysis” ก็คือ รวดเร็ว ง่าย และมีประสิทธิผล ในการระบุสาเหตุของปัญหา ความครอบคลุมของปัญหา และความยืดหยุ่นในการปรับปรุงคุณภาพ

ข้อเสีย ของการทำ 5 Why Analysis” ก็คือ อาจไม่เหมาะสำหรับปัญหาที่ซับซ้อน และสับสนมากๆ นะครับ

**********************************************************

เดี่ยวเราไปดูขั้นตอนวิธีการทำ 3x5 Why Analysis” และ ตัวอย่างกันเลยนะครับ

ขั้นตอนการวิเคราะห์หาสาเหตุ ด้วยการถาม “ทำไม” ต่อเนื่อง 5 ครั้ง

STEP 1: กำหนดหัวข้อของปัญหาหลักขึ้นมา โดยแบ่งออกเป็น 3 หัวข้อย่อย คือ Specifics, Detection และ Systemic

STEP 2: จัดตั้งทีมงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ต้องการวิเคราะห์ และทำการอธิบายรายละเอียดของปัญหา ให้ทีมงานเข้าใจ

STEP 3: จัดตั้งหัวหน้าทีม หรือ คนที่จะเป็นผู้นำในการทำกิจกรรม ซึ่งปกติแล้ว ควรจะเป็นคนที่มีอำนาจสูงที่สุดในทีม เพื่อที่จะสามารถ ออกคำสั่ง แจกจ่ายงานให้ทีมงานได้นั้นเอง

STEP 4: หลังจากนั้น หัวหน้าทีม ก็จะทำการสอบถามทีมงาน ด้วยคำถามว่า “ทำไม” จำนวน 5 ครั้ง ไปเรื่อยๆ จนครบ

STEP 5: หลังจากนั้น หัวหน้าทีม ก็จะทำการสอบถามทีมงาน ทำการวิเคราะห์สาเหตุ และ กำหนด “ใช่” และ “ไม่ใช่” ร่วมกันกับทีมงานทั้งหมด เพื่อหาต้นตอของสาเหตุ

STEP 6: จากนั้นก็ จัดทำแผนการดำเนินการ และ หัวหน้าทีมก็ทำการมอบหมายหน้าที่ให้กับทีมงาน พร้อมกับถามว่า จะเสร็จเมื่อไหร่

STEP 7: จากนั้น หัวหน้าทีม ก็จะต้องทำการติดตามผลของแผนดำเนินการ และสรุปผลที่ได้มา ร่วมกับทีมงานอีกครั้ง ว่าผลได้ตามเป้าหมาย หรือไม่ หากสำเร็จตามเป้า ขั้นตอนถัดไปก็ต้องทำเป็นมาตรฐานต่อไป แต่ถ้าหากยังไม่ได้ตามเป้าหมาย ก็ต้องกลับไปเริ่มทำการวิเคราะห์ใหม่อีกครั้ง ทำไปเรื่อยๆ จนกว่า จะได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

**********************************************************

เดี๋ยวผมจะยกตัวอย่างง่ายๆ ของการทำ 5 Why Analysis” ให้เพื่อนๆ ทุกๆ คน นะครับผม

ถามครั้งที่ 1: ทำไม!!! กลับบ้านไม่ตรงเวลา

ตอบครั้งที่ 1: เลิกงานและออกจากที่ทำงานช้า


ถามครั้งที่ 2: ทำไม!!! เลิกงานและออกจากที่ทำงานช้า

ตอบครั้งที่ 2: ติดประชุมก่อนเลิกงาน


ถามครั้งที่ 3: ทำไม!!! ติดประชุมก่อนเลิกงาน

ตอบครั้งที่ 3: เป็นงานด่วนต้องรีบแก้ไข

 

ถามครั้งที่ 4: ทำไม!!! เป็นงานด่วนต้องรีบแก้ไข

ตอบครั้งที่ 4: ไม่สามารถผลิตงานได้

 

ถามครั้งที่ 5: ทำไม!!! ไม่สามารถผลิตงานได้

ตอบครั้งที่ 5: เครื่องจักรในการผลิตเสีย


สรุปก็คือ: ที่กลับบ้านช้าไม่ตรงเวลา สาเหตุก็เกิดจากติดงานด่วนที่ต้องแก้ไขเครื่องจักรเสีย เพื่อให้สามารถผลิตงานได้ นั้นเอง

**********************************************************

ผมมีอีกหนึ่งตัวอย่าง ที่ผมนำมาจากงานในโรงงานอุตสาหกรรมนะครับ เพื่อที่เพื่อนๆ จะได้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้นนะครับผม


**********************************************************

เป็นยังไงกันบ้างครับผม นี้ก็เป็นเพียงหนึ่งไอเดีย ในการค้นหาสาเหตุของปัญหา เพื่อจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น หวังว่าคงจะมีประโยชน์นะครับผม

ปัญหา ไม่ว่าจะน้อย ไม่ว่ามาก ไม่ว่าจะเบา ไม่ว่าจะหนัก เพียงใด หากเราสามารถเข้าใจปัญหา ก็จะสามารถจัดการ และแก้ไข ผ่านมันไปได้ ในทุกๆ ครั้ง ครับผม สู้ๆ กันทุกๆ คนนะครับ

Mr. Adisak Banpot / WAND Intelligence / 2021.06.27

**********************************************************

ภาพลำดับที่ 1 โดย Sanu A S จาก Pixabay

ภาพลำดับที่ 2 โดย Gerd Altmann จาก Pixabay

ภาพลำดับที่ 3 โดย Gerd Altmann จาก Pixabay

ภาพลำดับที่ 4 โดย Gerd Altmann จาก Pixabay

ภาพลำดับที่ 5 โดย Gerd Altmann จาก Pixabay

ภาพลำดับที่ 6 โดย ภาพจากผู้เขียนเอง

ภาพลำดับที่ 7 โดย ภาพจากผู้เขียนเอง

**********************************************************


YouTube: https://youtu.be/SUToYo7Gnuw 

**********************************************************

เพื่อนๆ สามารถเข้าไปติดตามผลงานของผมได้ตามช่องทางอื่นๆ ได้ตามลิ้งด้านล่างนี้ได้ เช่นกันนะครับผม

YouTube: Die Casting & Engineering Knowledge Sharing

Blogger: Wand-Intelligence

Facebook: WAND Intelligence

Facebook Group: WAND Intelligence

Fan Page: Engineering Knowledge Learning Center by WAND Intelligence

Fan Page: Adisak Banpot

Fan Page: Aluminum High Pressure Die Casting and Engineering Knowledge Sharing

Blockdit: WAND Intelligence

**********************************************************

นอกจากนี้ผมยังมีเขียนบทความ ไว้ในเว็บอื่นๆ อีกด้วย หากเพื่อนๆ สนใจที่จะเข้าไปอ่าน ก็สามารถเข้าไปติดตามผลงานของผมได้ ตามลิ้งนี้ได้เลยนะครับผม ขอบคุณมากๆ ครับผม

Website Article.in.th: WAND Intelligence (https://article.in.th/author/WANDIntelligence)

Website TrueID In-trend: WAND Intelligence (https://creators.trueid.net/@WANDIntelligence)

**********************************************************

หากสนใจต้องการหารายได้พิเศษจากการเขียนบทความสามารถ สมัครผ่านลิ้งนี้ได้เลยครับผม: https://article.in.th/ref/WANDIntelligence

**********************************************************

 

 

1 ความคิดเห็น: