วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564

หลักการของ PDCA หรือ Deming Cycle หรือ Shewhart Cycle หรือ วงจรการควบคุมคุณภาพ

สวัสดีครับ เพื่อนๆ ทุกๆ คน สบายดีกันอยู่ไหมครับ? เป็นยังไงกันบ้างครับผม? ยังไงหวังว่า เพื่อนๆ ทุกๆ คน มีสุขภาพแข็งแรง สบายดี มีความสุขมากๆ กันทุกๆ คน นะครับผม
















สำหรับในครั้งนี้ ผมจะมาขอพูดถึงเรื่อง การบริหารจัดการด้านคุณภาพ กันบ้างนะครับ การบริหารจัดการด้านคุณภาพนั้น สามารถแบ่งออกได้หลายระดับ และมีเครื่องมือในการจัดการกับด้านคุณภาพมากมาย แต่สำหรับในครั้งนี้ ผมจะขอมาพูดคุยกันในเรื่องหัวข้อ หลักการของ PDCA หรือ Deming Cycle หรือ Shewhart Cycle หรือ วงจรการควบคุมคุณภาพกันก่อนนะครับผม







“PDCA” เป็นแนวคิด หรือหลักการในการจัดการกับปัญหาต่างๆ ปรับปรุงแก้ไข พัฒนา และ ค้นหาสาเหตุ ที่เกิดขึ้นในองค์กร นิยมใช้กันแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรม 

เดี๋ยวเรามาดูที่มาของ หลักการ “PDCA” กันก่อนนะครับ




 




“PDCA” เกิดขึ้นครั้งแรกโดย นาย W. Edwards Deming ได้ทำการคิดค้นหลักการในการแก้ไขปัญหา ปรับปรุงพัฒนา และค้นหาสาเหตุของปัญหาขึ้น เพื่อนำไปตอบคำถามของลูกค้า หลังจากนั้น W. Edwards Deming ก็ได้ทำการติดตามปัญหามาอย่างต่อเนื่องจนได้คิดค้นหลักการในการพัฒนา และค้นหาสาเหตุของปัญหาขึ้นมาได้ นั้นก็คือ PDCA (Plan, Do, Check, Act) diagram ในปี ค.ศ. 1950







ต่อมา “PDCA” ได้รับการพัฒนา โดย นาย Walter A, Shewhart  ซึ่งเป็นเพื่อน และที่ปรึกษาของ นาย W. Edwards Deming นั้นเอง และเขายังเป็นผู้พัฒนา Statistical Process Control (SPC) ในช่วงปี ค.ศ. 1920







จึงทำให้บ้างครั้งคนก็จะเรียก “PDCA” ว่า Deming Cycle หรือ Shewhart Cycle นั้นเอง   

 

PDCA คืออะไร ? What is PDCA ?



 






PDCA คือ วงจรการควบคุมคุณภาพ เป็นหนึ่งแนวคิดและเครื่องมือที่ใช้สำหรับการพัฒนา และปรับปรุงคุณภาพ อย่างต่อเนื่อง โดยมี 4 ขั้นตอนหลัก คือ Plan, Do, Check, Act

PDCA is a quality control cycle one of concept and tooling used for Continuous Improvement with 4 main process steps which are Plan, Do, Check, Act













1.
P (Plan) หรือ การวางแผน หมายถึง การวางแผนการดำเนินการอย่างรอบคอบ กำหนดกระบวนการ กำหนดลำดับความสำคัญของงาน กำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนที่ต้องลงมือปฏิบัติ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือ พัฒนาสิ่งใหม่ แนวคิดใหม่ๆ กำหนดเป้าหมาย กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการ กำหนดผู้รับผิดชอบ รวมไปถึง งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการด้วย โดยทีมงาน จะต้องทำการประชุม ปรึกษาหารือกัน และต้องมีการกำหนดนัดหมายการประชุม เพื่อที่จะติดตาม กิจกรรมที่ดำเนินการ ให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้

1. P (Plan) or “Planning” means is carefully plan and defined the process step, priority, objectives, implements plan, improvement plan, development plan, new concept, responsible persons, cost and target goal more clearly. And the team need to meeting together to discussion about the plan and define.












มาดูตัวอย่างในการแก้ไขปัญหา ขั้นตอนในการ Plan หรือ วางแผน ตามหลักการของ PDCA Cycle

Example to plan step for problems solving according to the principles of the PDCA Cycle.

 

1.1 ทำการจัดตั้งทีมงานที่จะดำเนินการกิจกรรมขึ้น โดย ต้องทำการเลือก หัวหน้าทีม หรือ ประธานกลุ่ม ขึ้น เพื่อเป็นแกนหลัก

1.1 Establishing a team to carry out the activities with the selection to the “Team Leader” or “Chairman” of the core team.










1.2 ทำการ สำรวจและวิเคราะห์ถึง รายละเอียดของปัญหาอย่างละเอียด โดย อาศัยหลักการ 5W2H (What, Why, Who, When, Where, How & How much)

1.2 Surveys and analysis to the description of the problem details by using the 5W2H principles (What, Why, Who, When, Where, How & How much).










1.3
กำหนดวางแผนจัดการปัญหาไม่ให้รุกลาม หรือ Containment Actions Plan และ ระบุวันเวลา ผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน และลงมือทำทันที เพื่อไม่ให้ปัญหา รุกลาม เสียหาย มากกว่าเดิม

1.3 Define a containment actions plan, specify the date, responsible persons and implement immediately. Because must be stop the problems to the big problems.










1.4 ทำการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาอย่างละเอียด ทั้ง Root Cause และ Possible Root Cause โดยใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ เช่น Brainstorming, Ishikawa Diagram และ Why Why Analysis หรือ 3x5 Why Analysis เป็นต้น โดย ต้องทำการวิเคราะห์ปัญหาด้วยกันภายในทีม ใช้ความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ของแต่ละคนช่วยกันค้นหา ต้นตอของสาเหตุของปัญหา

1.4 Analysis the cause of the problems thoroughly for both “Root Cause” and “Possible Root Cause” by using analysis tools such as Brainstorming, Ishikawa Diagram and Why Why Analysis or 3x5 Why Analysis or etc. The problem must be analyzed together with the core team to use the knowledge and the experience from each person helping to find the really root cause of the problem.







1.5 ทำการวางแผน และกำหนด Corrective Actions Plan โดยทำการแก้ไขในทุกๆ สาเหตุ ทั้ง Root Cause และ Possible Root Cause โดยกำหนด ระยะเวลาในการดำเนินการ และผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน







1.5 Plan and define the corrective actions plan by correcting in every cause for both “Root Cause” and “Possible Root Cause” by defined the time and the responsible person more clearly.












2. D (Do) หรือ การลงมือทำ หมายถึง การดำเนินการตามแผนงานที่กำหนดไว้ อย่างเคร่งครัด ผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ ต้องทำการควบคุมการดำเนินการให้ได้ตามแผนงานที่วางไว้ ต้องทำการศึกษาถึงวิธีการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เก็บข้อมูลผลลัพธ์ที่ได้ และต้องทำการเก็บข้อมูลทั้งหมดทั้งที่ได้ตามแผน และที่ไม่ได้ตามแผน ในกรณีที่มีบ้างหัวข้อไม่ได้ตามแผน ต้องทำการ แก้ไขแผนใหม่ หรือ recovery plan ต้องตรวจสอบว่าต้องมีการเลื่อนแผนหรือไม่ และเก็บข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นทั้งหมด เพื่อเป็นการนำไปปรับปรุงพัฒนาในขั้นตอนถัดไปได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด










2. D (Do) or “Doing” means the implementation action plan more strictly. Responsible person must be control the activity according the action plan. Must be study more detail how to be the most effective. Collecting the results and collect all the data. Which activity are followed the plan and which activity are delay the plan. In case delay plan, how to recovery the plan. Need to postpone the plan or not? Collect all the problems and mistake for develop or improve for the next step to most effective. 



3. C (Check) หรือ การตรวจสอบการปฏิบัติตามแผนงาน หมายถึง การตรวจสอบผลการดำเนินการ ในแต่ละหัวข้อว่าเป็นไปตามแผนหรือเปล่า ได้ตามแผนหรือไม่ ผลลัพท์เป็นอย่างไรบ้าง มีปัญหาหรืออุปสรรคอะไรบ้าง มีหัวข้อไหนบ้างที่ต้องทำการปรับปรุงแก้ไข ต้องทำการวิเคราะห์ ผลลัพท์และปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการปรับปรุงแก้ไขพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และทำการจัดทำให้เป็นมาตรฐาน หรือ standard เช่น Procedure, FMEA, Control Plan และ Work instruction เป็นต้น นำเอกสารแจ้ง หรืออบรม ให้พนักงานที่เกี่ยวข้องทุกคนได้รับทราบและปฏิบัติตาม เพื่อเป็นการ ป้องกัน ไม่ให้เกิดปัญหา หรือ ความผิดพลาดขึ้นซ้ำอีก










3. C (Check) or “Checking” means check all the implementation programs are followed the plan or not? And how about the result for each activity? How about the problems or troubles for each activity? Which item need to improve or correct?

Need to analysis the results and problems to improvement most effective. Create standardize such as procedure, FMEA, Control Plan, Work Instruction and etc. Then distribute the documents and provide training to the all related persons for stop the problems or trouble reoccurrence again.











4. A (Act) หรือ การประเมินผลงานและขยายผล หมายถึง การนำผลงานที่ได้มาจากการดำเนินการทั้งหมด มาทำการวิเคราะห์และประเมิน เพื่อทำการปรับปรุงแก้ไข และขยายผลต่อไป ให้ดียิ่งๆขึ้นไปอีก หรืออาจจะขยายผลไปยัง ปัญหาที่ใกล้เคียงกัน หรือ ผลิตภัณฑ์ที่ใกล้เคียงกัน เป็นต้น และก็นำผลงาน และแผนการที่จะพัฒนาปรับปรุงต่อยอด ต่อไป ให้ทางผู้บริหารได้รับทราบ ซึ่งทางผู้บริหารเอง ก็อาจจะมีรางวัลหรือผลตอบแทนให้กับทางสมาชิก เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับทีมงาน เพื่อทำกิจกรรม พัฒนาปรับปรุงแก้ไข ต่อไปเรื่อยๆ ไม่มีวันจบสิ้น หรือ สิ้นสุด หรือที่เราเรียกว่า CI (Continuous Improvement) นั้นเอง









4. A (Act) or “Adjust” means analysis and evaluation all the results for each activity for improve and escalations to the better results. Escalations to the similar problems or similar products to improvement continously. Then present to the management team. The management team also should be provide the rewards or something to give morale to the core team. The team will be happy and make improvement continously, never ending or as we call “CI (Continuous Improvement)” activity.












ผมหวังว่าบทความนี้คงจะมีประโยชน์สำหรับหลายๆ คนนะครับ หากใครมีความคิดเห็นอย่างไร หรือมีคำถาม หรือต้องการที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ก็สามารถแสดงความคิดเห็นกันเข้ามาได้นะครับผม ด้านล่างนี้ได้เลยครับผม ขอบคุณมากๆ ครับผม

Mr. Adisak Banpot / WAND Intelligence / 2021.06.25

*****************************************

ภาพลำดับที่ 1 โดย wikimedia.org

ภาพลำดับที่ 2 โดย wikimedia.org

ภาพลำดับที่ 3 โดย Gerd Altmann จาก Pixabay 

ภาพลำดับที่ 4 โดย Gerd Altmann จาก Pixabay 

ภาพลำดับที่ 5 โดย ผู้เขียนเอง

*****************************************





*****************************************









*****************************************

เพื่อนๆ สามารถ ติดตามผลงานของผมเพิ่มเติม ได้ตามช่องทางต่างๆ ด้านล่างนี้ได้เลยนะครับผม ขอบคุณมากครับ

You can follow to my works with other channels in below link, thank you very much.

YouTube: Die Casting & Engineering Knowledge Sharing

Blogger: Wand-Intelligence

Facebook: WAND Intelligence

Facebook Group: WAND Intelligence

Fan Page: Engineering Knowledge Learning Center by WAND Intelligence

Fan Page: Adisak Banpot

Fan Page: Aluminum High Pressure Die Casting and Engineering Knowledge Sharing

Blockdit: WAND Intelligence


*****************************************

นอกจากนี้ผมยังมีเขียนบทความ ไว้ในเว็บอื่นๆ อีกด้วย หากเพื่อนๆ สนใจที่จะเข้าไปอ่าน ก็สามารถเข้าไปติดตามผลงานของผมได้ ตามลิ้งนี้ได้เลยนะครับผม ขอบคุณมากๆ ครับผม 

Furthermore, you can follow to my article with other website in link below, thank you very much.

Website Article.in.th: WAND Intelligence (https://article.in.th/author/WANDIntelligence) 

Website TrueID In-trend: WAND Intelligence (https://creators.trueid.net/@WANDIntelligence) 

*****************************************

*****************************************




































4 ความคิดเห็น: