วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2564

กิจกรรม 5ส. คืออะไร? มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง? (What is the 5S Methodology?)

สวัสดีครับ เพื่อนๆ ทุกๆ ท่าน หากจะพูดถึงเรื่อง ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ในองค์กร หลายๆ คน ก็คงนึกถึง กิจกรรม 5ส. ใช่ไหมครับ

ในครั้งนี้นะครับ ผมจะขอมาพูดคุยกันในเรื่อง กิจกรรม 5ส. กันนะครับผม หรือ 5S Methodology

ก่อนอื่นมาดูที่ไปที่มาของ กิจกรรม 5ส. กันก่อนก็แล้วกันนะครับ

“5ส. หรือ 5S” กำเนิดเกิดขึ้นครั้งแรกในทวีปยุโรป โดย สถาบันแรงงานกลางของสหภาพโซเวียต หรือ USSR Central Institute of Labour” จาก เอกสารแนะนำโครงการ “Correct Arrangement of the Tool หรือ การจัดเก็บเครื่องมือให้ถูกต้อง เมื่อปี ค.ศ. 1920 – 1924.

“5ส. หรือ 5S” ได้มีการเริ่มต้นการพัฒนาอย่างจริงจัง หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง โดย ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งช่วงระยะเวลานั้น เศรษฐกิจกำลังเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ทางประเทศญี่ปุ่นกลับประสบปัญหาเรื่องคุณภาพของสินค้า ซึ่งทางประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญ เข้ามาช่วยเหลือ โดย Dr. Edwards Deming ได้ถ่ายทอดระบบ และวิธีการจัดการด้านคุณภาพให้กับทางประเทศญี่ปุ่น ให้กับ Taichi Ohno วิศวกร ของบริษัท TOYOTA จน คิดค้นหลักการ และแนวคิดขึ้นมาได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Just-In-Time, Jidoka, KANBAN System, 7 Waste, SMED, Toyota Production System, Lean และ อื่นๆ อีกมากมาย

ต่อมาการค้าขายระหว่างประเทศก็เจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศญี่ปุ่น เศรษฐกิจโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้การผลิตต้องเพิ่ม กำลังการผลิตให้สูงขึ้น โดยผู้บริหารของบริษัท ULVAC Inc. นาย Hiroyuki Hirano ได้ทำการคิดค้น หลักการ เสาหลักทั้ง 5 ในสถานที่ทำงาน (The Five Pillars of The Visual Workplace) ขึ้นมา และก็กลายเป็น แนวทางของ หลักการ 5ส ในปัจจุบันนี้ นั้นเองนะครับ

กิจกรรม 5ส. เริ่มมีการนำมาใช้ครั้งแรก ในประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2522 โดย นาย Shigemi Mmorita ประธานบริษัท NHK Spring (Thailand) Co. , Ltd. ได้นำหลักการ กิจกรรม 5ส. เข้ามาใช้ปรับปรุงพัฒนาบริษัท เริ่มจาก 3ส. ก่อน และ เต็มรูปแบบเป็น 5ส. ประกาศเป็นนโยบายการบริหารงานของบริษัท ในภายหลัง

ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาปรับปรุง กิจกรรม 5ส. ขึ้นมามากมาย แพร่หลายกันออกไปในหลายๆ บริษัท ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น บริษัท สยามคูโบต้า จำกัด, บริษัทในเครือซีเมนต์ไทย, บริษัท ปตท. และ อื่นๆ อีกมากมาย

**********************************************************

“5ส. หรือ 5S” คือ แนวทางในการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่การทำงาน ให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มผลผลิต สิ่งแวดล้อมของพื้นที่การทำงาน รวมไปถึงความปลอดภัยในพื้นที่การทำงาน เพื่อให้พื้นที่การทำงานมีการพัฒนาแบบยั่งยืน ซึ่งจะประกอบด้วย สะสาง สะดวก สะอาด สร้างมาตรฐาน และ สร้างวินัย

ผมจะอธิบายความหมายในแต่ละหัวข้อให้รับทราบกัน ดังนี้ นะครับผม

1. SORT (SEIRI) สะสาง.

คือ การแยก และทิ้งสิ่งของที่ไม่จำเป็น ออกจากสถานที่ ซึ่งมักจะเรียกว่า “RED TAGGING” โดยใช้หลักการ การตั้งคำถามว่า ใครต้องการใช้? สิ่งของนี้ต้องการใช้บ่อยแค่ไหน?

หลังจากคัดแยกเสร็จแล้วเราก็ สามารถลดตันทุน หรือเพิ่มมูลค่าของสิ่งที่เราคัดแยกไว้ ได้ด้วยการแจ้งถึงคนที่เกี่ยวข้อง หรือ คนที่ต้องการสิ่งของที่เราคัดแยกออกไว้ เพื่อให้นำสิ่งของเหล่านี้ ไปใช้ประโยชน์ต่อไป นั้นเอง ครับผม

**********************************************************

2. SET IN ORDER (SEITON) สะดวก.

คือ การจัดวางสิ่งของที่กำหนดว่าจำเป็นต้องใช้งาน ให้อยู่ในที่ ที่ใช้งานง่าย และทำให้ทุกคนสามารถรู้ได้ว่าของสิ่งไหนอยู่ที่ตรงไหน เพื่อทำการลดเวลาในการค้นหา และสะดวกในการค้นหา มีการวางในพื้นที่ที่ชัดเจน และป้ายชี้บ่งที่ชัดเจน เพื่อลดเวลาในการทำงานลงได้ สามารถเพิ่มผลกำไร ได้อีกด้วยนะครับผม

ยกตัวอย่างเช่น อาจจะมีการสร้างเส้นทำ Layout ให้กับพื้นที่การทำงานที่ชัดเจน, ทำป้ายชี้บ่งให้กับเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ชัดเจน หรือ ทำการติดป้ายชี้บ่งของสวิทช์ของหลอดไฟที่ชัดเจน เป็นต้น ครับผม

**********************************************************

3. SHINE (SEISO) สะอาด.

คือ การทำความความสะอาดในพื้นที่ ที่ทำงาน แต่ไม่ใช่เพียงแค่การทำความสะอาดในพื้นที่ ที่ทำงานเพียงอย่างเดียว นะครับ เราต้องทำการตรวจเช็คเครื่องจักร, เครื่องมือ และอุปกรณ์ ต่างๆ ในพื้นที่ทำงานอีกด้วยนะครับผม

จุดสำคัญคือ ต้องตรวจสอบ แลดูแลบำรุงรักษา เครื่องจักร, เครื่องมือ และอุปกรณ์ ต่างๆ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา เพื่อลดปัญหาของการหยุดการผลิตเนื่องจาก เครื่องจักร, เครื่องมือ และอุปกรณ์ ต่างๆ ไม่พร้อมในการผลิต สามารถลดต้นทุน เพิ่มผลกำไรให้องค์กร อีกด้วยนะครับผม

**********************************************************

4. STANDARDIZE (SEIKETSU) สร้างมาตรฐาน.

คือ การสร้างมาตรฐานขึ้นมา เพื่อเป็นการลดเวลา และขจัดข้อผิดพลาดต่างๆ ในพื้นที่ทำงาน โดยวิธีการ สะสาง สะดวก สะอาด จัดวางอุปกรณ์เครื่องมือให้มีประสิทธิภาพ กำหนดกฏระเบียบ และคนรับผิดชอบจัดพื้นที่ และติดป้ายชี้บ่ง ให้ชัดเจนในพื้นที่ทำงาน  

ต้องทำการจัดทำ เอกสารมาตรฐาน ขึ้นมา และต้องทำการฝึกอบรม มาตรฐาน ทุกๆ หัวข้อ ให้กับพนักงานทุกๆ คนได้รับทราบ และนำไปปฏิบัติตาม นะครับผม  

**********************************************************

5. SUSTAIN (SHITSUKE) สร้างวินัย.

คือ การพัฒนากระบวนการของ กิจกรรม 5ส. แบบต่อเนื่องในระยะยาว โดยทำการสร้างวินัย ในตนเอง และจะต้องทำ อย่างต่อเนื่อง ไปจนกว่า พนักงานทุกๆ คนในองค์กร จะปฏิบัติตามจนเกิดเป็นนิสัย

ต้องทำการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างความมีวินัยในตนเอง และจำเป็นต้องมีการตรวจติดตามอยู่อย่างสม่ำเสมอโดยการประเมินผล หรือที่เราเรียกว่าการ ตรวจ 5ส. หรือ Audit 5S” นั้นเอง ครับผม

ในปัจจุบันนี้ หลายๆ องค์กรได้มีการมองเห็นความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงานกันมากขึ้น จึงทำให้หลายๆ องค์กร ได้มีการเพิ่ม หัวข้อความปลอดภัยเข้ามาอีกหนึ่งหัวข้อ นั้นก็คือ “Safety หรือ ความปลอดภัยบางที่เรียกว่า 6S หรือ บ้างแห่งเรียกว่า 5ส. + Safety นั้นเอง ครับผม

**********************************************************

6. SAFETY ความปลอดภัย.

คือ นอกจากหลักการของ กิจกรรม 5ส. คือ สะสาง, สะดวก, สะอาด, สร้างมาตรฐาน และสร้างวินัย แล้วนั้น ยังต้องเพิ่มแนวคิดของ การสร้างความปลอดภัยเข้ามาด้วย  

แต่ไม่ใช่เพียงแค่การ ส่งเสริมให้องค์กร ใด้มีสภาพแวดล้อม ในการทำงานที่ดีแล้วนั้น ยังสามารถช่วยการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยที่ยั่งยืนในองค์กรอีกด้วย  

**********************************************************

ประโยชน์ของ กิจกรรม 5ส. หรือ 5S

ประโยชน์ของการทำ กิจกรรม 5ส. นั้น ก็มีทั้งทางอ้อม และทางตรง มีประโยชน์กับทั้ง พนักงาน และองค์กร โดยหลักๆ ก็ คือ การสร้างบรรยากาศการทำงานให้ดีมากขึ้น พนักงานมีความรู้สึกอยากที่จะทำงาน อารมณ์แจ่มใส ทำงานสะดวกสบายมากขึ้น พื้นที่การทำงานสะอาดงามตา สามารถลดเวลาการทำงานได้ ลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นได้ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และ สามารถเพิ่มผลกำไรให้กับองค์กร ได้ด้วยนั้นเอง ครับผม

จริงๆ แล้ว หากพนักงานทุกๆ คนสามารถเข้าใจถึง หลักการ 5ส. และทำการปฏิบัติตาม แล้วนั้น ผมคิดว่า มันจะส่งผลดีมากๆ กับทั้งพนักงาน และกับองค์กร มากๆ เลยนะครับ

ยังไงผมเองคิดว่า น่าจะมีประโยชน์ให้กับ เพื่อนๆ หลายๆ คน ไม่มากก็น้อยนะครับ หากท่านใดมีคำถาม หรือข้อสงสัยก็สามารถแสดงความคิดเห็น หรือคำถามเขามากันได้เลยนะครับ หรือถ้าหากมี เพื่อนๆ ท่านใด ต้องการเสริม เพิ่มเติม ตรงจุดไหน ก็แสดงความคิดเห็นเข้ามาได้ เช่นกันนะครับ ที่ด้านล่างใต้นี้ได้เลยนะครับผม ขอบคุณมากๆ ครับผม

Mr. Adisak Banpot / WAND Intelligence / 2021.06.26

**********************************************************

ภาพลำดับที่ 1 โดย vicwag จาก Pixabay

ภาพลำดับที่ 2 โดย Clker-Free-Vector-Images จาก Pixabay

ภาพลำดับที่ 3 โดย wikimedia.org

ภาพลำดับที่ 4 โดย wikimedia.org

ภาพลำดับที่ 5 โดย Jörg Felix จาก Pixabay

ภาพลำดับที่ 6 โดย PublicDomainPictures จาก Pixabay

ภาพลำดับที่ 7 โดย ภาพจากผู้เขียนเอง

**********************************************************


 YouTube: https://youtu.be/OelS0Q-07Bw

**********************************************************

เพื่อนๆ สามารถเข้าไปติดตามผลงานของผมได้ตามช่องทางอื่นๆ ได้ตามลิ้งด้านล่างนี้ได้ เช่นกันนะครับผม

YouTube: Die Casting & Engineering Knowledge Sharing

Blogger: Wand-Intelligence

Facebook: WAND Intelligence

Facebook Group: WAND Intelligence

Fan Page: Engineering Knowledge Learning Center by WAND Intelligence

Fan Page: Adisak Banpot

Fan Page: Aluminum High Pressure Die Casting and Engineering Knowledge Sharing

Blockdit: WAND Intelligence

**********************************************************

นอกจากนี้ผมยังมีเขียนบทความ ไว้ในเว็บอื่นๆ อีกด้วย หากเพื่อนๆ สนใจที่จะเข้าไปอ่าน ก็สามารถเข้าไปติดตามผลงานของผมได้ ตามลิ้งนี้ได้เลยนะครับผม ขอบคุณมากๆ ครับผม

Website Article.in.th: WAND Intelligence (https://article.in.th/author/WANDIntelligence)

Website TrueID In-trend: WAND Intelligence (https://creators.trueid.net/@WANDIntelligence)

**********************************************************

หากสนใจต้องการหารายได้พิเศษจากการเขียนบทความสามารถ สมัครผ่านลิ้งนี้ได้เลยครับผม: https://article.in.th/ref/WANDIntelligence

 

 

1 ความคิดเห็น: